Header Ads Widget

Header ADS

ม.รามคำแหง-สกสว.-บพข. ผนึกเทศบาลตำบลป่าคลอก จ.ภูเก็ต เปิดกิจกรรมจิตอาสาถวายพระราชกุศล 13 ต.ค. 66 วันนวมินทรมหาราช "พัฒนา ปลูกหญ้าทะเลในพื้นที่หาดท่าหลา” เพื่อเป็นแหล่งดูดซับคาร์บ

ม.รามคำแหง-สกสว.-บพข. ร่วมกับเทศบาลตำบลป่าคลอก จ.ภูเก็ต จัดกิจกรรมจิตอาสาถวาย พระราชกุศล เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2566 ภายใต้กิจกรรมจิตอาสา "พัฒนา ปลูกหญ้าทะเลในพื้นที่หาดท่าหลา” เพื่อเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอน
     วันที่ 13 ตุลาคม 2566 โครงการศึกษาศักยภาพของระบบนิเวศแนวปะการังเพื่อเป็นแหล่งชดเชยการปล่อยคาร์บอน แผนงานการท่องเที่ยวบนฐานมรดกทางธรรมชาติ การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ภายใต้แผนงานกลุ่มการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว. เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ ร่วมมือกับเทศบาลตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต จัดกิจกรรมจิตอาสาถวายพระราชกุศล เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2566 ภายใต้กิจกรรมจิตอาสา "พัฒนา ปลูกหญ้าทะเลในพื้นที่หาดท่าหลา”
     นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต  เป็นประธานในพิธีกิจกรรมจิตอาสาถวายพระราชกุศล เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2566  วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  ภายใต้กิจกรรมจิตอาสา "พัฒนา ปลูกหญ้าทะเลในพื้นที่หาดท่าหลา" โดยมีนายบัญชา ธนูอินทร์ นายอำเภอถลาง นายปัณยา สำเภารัตน์ นายกเทศมนตรีตำบลป่าคลอก นายมนัส เกิดทรัพย์ รองนายกเทศมนตรีตำบลป่าคลอก นายชาติวุฒิ สร้อยสน เลขานุการนายกเทศมนตรีตำบลป่าคลอก สมาชิกสภาเทศบาลตำบลป่าคลอก หัวหน้าส่วนราชการ ภาครัฐ เอกชน จิตอาสาพระราชทาน ประชาชนจิตอาสา และประชาชนในพื้นที่ ประมาณ 300 คน เข้าร่วมกิจกรรมฯ
     ในช่วงเช้าก่อนกิจกรรมจิตอาสาฯ รองศาสตราจารย์ ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพในทะเล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และผู้อำนวยการแผนงานท่องเที่ยวบนฐานมรดกทางธรรมชาติ การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ นำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง เรื่อง การกักเก็บคาร์บอนของระบบนิเวศแนวปะการังและระบบนิเวศที่เชื่อมโยง ณ ห้องประชุมปลาพะยูน เทศบาลตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาฆมาส สุทธาชีพ อาจารย์ ดร.วิชิน สืบปาละ ดร.สิทธิพร เพ็งสกุล ดร.เจริญมี แช่มช้อย และนักวิจัยภายใต้แผนงานฯ พร้อมด้วยคุณสุเทพ เจือละออง นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ  ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการอนุรักษ์และแนวทางการฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลที่เสื่อมโทรม โครงการวิจัยฯ ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งที่มีความเชื่อมโยงกัน เช่น ป่าชายเลน ป่าชายหาด หาดทราย แนวปะการัง สาหร่าย และพื้นตะกอน มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 100 คน คุณไชยา ระพือพล รองประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต คุณอังคณา ธเนศวิเศษกุล มูลนิธิพัฒนาท่องเที่ยวยั่งยืน ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต กรมเจ้าท่า กรมประมง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาดำน้ำแห่งประเทศไทย ATUS สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ผู้ประกอบการท่องเที่ยว ชุมชนท้องถิ่น ฯลฯ โดยผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกิจกรรม จิตอาสาถวายพระราชกุศลฯ เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2566 ในช่วงบ่ายด้วย เพื่อส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่แหล่งดูดซับคาร์บอน และสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
     โครงการวิจัยฯ มุ่งเน้นการปกป้อง คุ้มครอง และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน การฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลจำเป็นต้องดำเนินการโดยใช้องค์ความรู้ทางวิชาการ เทคนิคและวิธีการที่เหมาะสมกับชนิดหญ้าทะเล และสภาพพื้นที่ จะทำให้ได้แหล่งชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเลคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวคุณภาพสูงมากขึ้น องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ได้จากโครงการวิจัยฯ ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ BCG โดยการเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายที่มีมูลค่าสูง และกระจายรายได้ให้กับชุมชน

Post a Comment

0 Comments

News Update !!!

Space & Time Cubeพิพิธภัณฑ์เมตาเวิร์สสุดฮิต เปิดตัวแล้ววันนี้ ณ ซีคอน บางแค